จดโดเมน (domain register) กับที่ไหนดี
จดโดเมนกับที่ไหนดี
ควรเลือกการเลือกผู้ให้บริการจดโดเมนเนม / (Domain Name Registrar) รายใด
คุณจะได้ทราบถึง วิธีการจดโดเมนเนม การเลือกผู้ให้บริการจดโดเมนเนม (Domain Name Registrar) และการรักษาความปลอดภัยของจดโดเมนเนม ตลอดจนข้อความพิจารณาถึงสิทธิประโยชน์ ฟีเจอร์จดโดเมนเนม หรือบริการที่ผู้ให้บริการจดโดเมนเนม มอบให้กับคุณค่ะ
หากคุณกำลังค้นหาชื่อโดเมนเนม และเริ่มต้นจดทะเบียนโดเมนเนม ซึ่งการจดโดเมนเนม นับเป็นส่วนสำคัญอย่างมากบนโลกออนไลน์ขององค์กรของคุณ
การจดโดเมนเนม นับเป็นส่วนสำคัญอย่างมาก บนโลกออนไลน์ขององค์กรของคุณ และอาจนับว่าโดเมนเนมเป็นสินทรัพย์ของบริษัท
ซึ่งคุณสามารถเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.internic.net ซึ่งเป็นเว็บไซต์ ที่จัดทำโดยโซลูชั่นเครือข่ายที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ Registrars ต่างๆ ,การค้นหาชื่อโดเมนเนม ( Search Whois) และคำถามคำตอบเกี่ยวกับโดเมน
แนะนำประเภทโดเมนเนม
Top level domains - ชื่อโดเมนทั่วไปส่วนขยาย : TLDs - Common Domain Name Extensions
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักเกี่ยวกับ "โดเมนเนม หรือ ชื่อโดเมน ซึ่งก็คือ ชื่อเว็บไซต์ " ซึ่งมีการเก็บข้อมูลของเว็บไซต์เราไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่บนอินเทอร์เน็ต
ชื่อโดเมนนี้จะมีการกำหนด DNS (Domain name server)
โดย DNS จะใช้ระบบ ชื่อโดเมน และโดเมนย่อย หรือ subdomain ด้วยการ่คั่นด้วยจุุุด ('.') เพื่อจัดระเบียบของโดเมนเนม
ตัวอย่างเช่นเว็บไซต์ ecomsiam.com มีการใช้ sub domain name ในการตั้งชื่อ โดยใช้ชื่อ โดเมนเนม.ecomsiam.com
มีชื่อโดเมนเนมคือ "ecomsiam"
และมีโดเมนเนมย่อยคือ " โดเมนเนม.ecomsiam.com
" นั่นเอง
การจดโดเมนเนมระดับบนสุด (TLDs : Top-level domain) คืออะไร
โดเมนเนมระดับบนสุด หรือ Domain Names and Top-level Domains คือ โดเมนเนมที่อยู่ระดับบนสุด ในระบบชื่อโดเมนเนม ตามลำดับชั้นของอินเทอร์เน็ต
กล่าวคือ TLDs คือส่วนขยายของโดเมนเนมระดับบนสุด ซึ่งต่อไปนี้เราจะเรียกว่า "TLDs"
ตัวอย่างเช่น โดเมนเนม ecomsiam.com เป็นโดเมนระดับบนสุดของ .com
โดยทั่วไป เราอาจจำแนกประเภทของโดเมน ได้ตามส่วนขยายหรือนามสกุลของโดเมนเนมได้ดังนี้
(1) โดเมนระดับบนสุดตามหมวด (gTLD) :
คือส่วนขยายของโดเมนระดับบนสุด ซึ่งใช้กับโดเมนเนมทั่วไป
ใช้ตามประเภทขององค์กร (อย่างน้อยในทางทฤษฎี) (เช่น .com สำหรับองค์กรทางธุรกิจ) มีตัวอักษรอย่างน้อย 3 ตัว สามารถใช้ได้ทั่วโลก แต่ด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ gov และ mil ใช้ได้เฉพาะกับหน่วยงานด้านการปกครองและการทหารของสหรัฐอเมริกา ตามลำดับ
ส่วนขยายของโดเมนระดับบนสุด ซึ่งใช้กับโดเมนเนมทั่วไป
โดเมนเนมระดับบนสุด ที่มีการใช้มาตั้งแต่แรกเริ่ม (TLDs) คือ
.net .org .edu .gov .int .mil
และต่อมามีการเพิ่ม TLDs ของโดเมนเนมใหม่ เพื่อให้แยกประเภทของการใช้งานโดเมนเนม ได้หลากหลายยิ่งขึ้น
และได้นำมาใช้งานบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งแม้ว่าโดเมนนี้จะไม่ได้เป็นที่นิยมมาก นักเมื่อเทียบกับแบบ TLDs เดิมตามที่กล่าวข้างต้น
นามสกุลใหม่ของโดเมนเนม ที่มีการเพิ่มเข้ามาคือ
.biz .info .jobs .mobi .name .tel
การจดโดเมนเนมภาษาไทย .com .net
คุณสามารถจดโดเมนเป็นชื่อภาษาไทย ซึ่งมีรูปแบบการจดเป็น Punycode
ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ชื่อโดเมนเนม เป็นตัวแทนที่รับรู้ได้ทั่วโลก หรือ IDNs - International Domain Names
การจดโดเมนเนมภาษาไทย .com .net ประกอบด้วยชุดตัวอักษร A-Z, 0-9
ในการจดโดเมนภาษาไทยจะมีการแปลงโดเมนเนม เป็นรหัส Punycode เสียก่อน ตัวอย่างเช่น เมื่อเราจดโดเมน เว็บไซต์สำเร็จรูปไทย.com ---> Punycode ที่ใช้ในการจดโดเมนคือ
xn--82cf4ajlj4ceb8azbyg8d2dg3dk5bi9gwa.com
แนะนำบริการดีๆ จาก ecomsiam ใช้เว็บโฮสติ้ง รายปี ฟรีจดโดเมน
หรือฟรี ! ต่ออายุโดเมน ตลอดการใช้งาน
(2) โดเมนระดับบนสุด ตามรหัสประเทศ (ccTLD) :
นอกจากโดเมนเนม TLDs แบบโดเมนทั่วไป ตามที่ได้กล่าวตามข้างต้น ยังมีการขยายเป็น โดเมนเนมสำหรับแต่ละประเทศ เพื่อช่วยจัดระเบียบเว็บไซต์ภายในแต่ละประเทศ
โดยนามสกุลหรือส่วนขยายของโดเมนเนมเหล่านี้ จะมีการตั้งชื่อแยกตามตามมาตรฐาน ตามรหัสประเทศเป็นตัวอักษร 2 ตัวเป็นตัวแทนประเทศ
ตัวอย่างของ TLDs โดเมนตามรหัสประเทศมีดังนี้ค่ะ
.th สำหรับประเทศไทย (Thailand)
.jp สำหรับประเทศญี่ปุ่น (Japan)
.au สำหรับประเทศออสเตรเลีย (Australia)
.ca สำหรับประเทศแคนาดา (Canada)
.cn สำหรับประเทศจีน (China)
และอื่นๆ เช่น .de (germany) .kr (korea) .fr (France) .in (India) .jp (Japan) เป็นต้น
ในปัจจุบัน มีบริการรับจดโดเมนเนม .th โดเมนเนม .th เป็นโดเมนเนมที่จด สำหรับประเทศไทย
โดยมีหน่วยงานคือ Thnic เป็นผู้ดูแลการจดทะเบียนโดเมน .th ทั้งหมด
โดยมีรายละเอียด และเงื่อนไขของ การจดโดเมนเนม .th ดังนี้ค่ะ
คลิ๊กที่แต่ละประเภทโดเมนเนมด้านล่าง เพื่อเรียกดูรายละเอียดค่ะ
แนะนำการจดโดเมนเนม และเอกสารประกอบการจดโดเมนเนม .co.th
การจดโดเมน .co.th หรือ .ธุรกิจ.ไทย
โดเมนเนม .co.th สำหรับองค์กรธุรกิจในประเทศไทย สำหรับบุคคลผู้ประกอบธุรกิจ ได้แก่
- นิติบุคคลที่จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
- บุคคลที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง
- รัฐวิสาหกิจ
- บุคคลที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียน กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวง พาณิชย์
- นิติบุคคลหรือเจ้าของเครื่องหมายการค้าต่างประเทศ สามารถแต่งตั้งตัวแทนผู้รับ มอบอำนาจให้ถือครองชื่อโดเมนโดยตัวแทนต้องเป็นบุคคลตามข้อ (1) หรือ (2)
เอกสารจดโดเมน .co.th หรือ .ธุรกิจ.ไทย
การจดทะเบียนโดเมนเนม .co.th สามารถพิจารณาได้เป็น 2 แบบ
(1) จดทะเบียนโดเมนเนมโดยใช้ชื่อโดเมนเนมจากชื่อขององค์กรธุรกิจ
ชื่อโดเมนเนมจะต้องสอดคล้อง, เป็นส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือย่อมากจากชื่อองค์กรของท่านได้ และ หนึ่งองค์กรสามารถจดทะเบียนโดเมนเนม ได้มากกว่า 1 ชื่อ
องค์กรที่จดทะเบียนในประเทศไทย ใช้เอกสารอย่างใดอย่างหนึ่ง (ใช้เอกสารเพียงหนึ่งอย่าง)
- หนังสือรับรองนิติบุคคล (บริษัท)
- เอกสาร ทค.0401 หรือ พค.0401 (ทะเบียนการค้า)
- หรือ เอกสาร ภ.พ.20 (ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
- ภ.พ.01 (ใบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องได้รับการเซ็นต์รับรองจากเจ้าหน้าที่)
- ใบ ภ.พ.09 (ใบคำขอแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
- หนังสือบริคณห์สนธิ (ต้องได้รับการเซ็นต์รับรองจากเจ้าหน้าที่)
- หนังสือรับรองที่รับรองโดยนิติบุคคลต่างประเทศ
- *** คุณสามารถแจ้งเลขทะเบียนพาณิชย์ของบริษัท แทนการใช้เอกสารได้
องค์กรต่างประเทศ จะต้องมีตัวแทนที่จดทะเบียนบริษัทในประเทศไทย
- หนังสือรับรองบริษัทต่างประเทศ (ทั้งต้นฉบับ และฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ)
- หนังสือรับรองบริษัทตัวแทนที่จดทะเบียนบริษัทในประเทศไทย
- หนังสือรับรองที่รับรองโดยบริษัทต่างประเทศ ซึ่งมีใจความสำคัญ 2 ใจความ
- รับรองบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศไทยเป็นบริษัทตัวแทน
- รับรองการอนุญาตใช้ชื่อองค์กรต่างประเทศในการจดทะเบียนโดเมนเนม ในชื่อ yourdomain.co.th
ไฟล์ตัวอย่างเอกสารจดโดเมน .co.th
เอกสาร ภ.พ.20 (ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) (pdf)
เอกสาร ทค.0401 หรือ พค.0401 (ทะเบียนการค้า)(pdf)
ใบ ภ.พ.01 (ใบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องได้รับการเซ็นต์รับรองจากเจ้าหน้าที่) (pdf)
ใบ ภ.พ.09 (ใบคำขอแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) (pdf)
ใบ ภ.พ.09 (ใบคำขอแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) (pdf)
ใบ ภ.พ.09 (ใบคำขอแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) (pdf)
หนังสือบริคณห์สนธิ (ต้องได้รับการเซ็นต์รับรองจากเจ้าหน้าที่) (pdf)
หนังสือรับรองที่รับรองโดยนิติบุคคลต่างประเทศ (pdf)
ตัวอย่างเอกสารจดโดเมน .co.th หรือ .ธุรกิจ.ไทย
(2) จดทะเบียนโดเมนเนมโดยใช้ชื่อโดเมนเนม จากเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายบริการ
- ชื่อโดเมนเนมจำเป็นต้องตรงกับเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายบริการทุกตัวอักษร
- องค์กรที่มีเครื่องหมายการค้ามากกว่า 1 ตัว สามารถจดชื่อโดเมนเนม .co.th ได้ตามจำนวนเครื่องหมายการค้านั้น
เอกสารที่ใช้ จดโดเมน ด้วยเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายบริการที่จดทะเบียนในประเทศไทย
- หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
- หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายร่วม
- หรือ หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียน เครื่องหมายบริการ ที่ถูกจดทะเบียนและประกาศรับรองโดย กรมทรัพย์สินทางปัญญา ประเทศไทย
- หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายรับรอง, หนังสือรับรองโดยผู้ถือครองเครื่องหมายการค้าต่างประเทศ
เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในต่างประเทศ จะต้องมีตัวแทนที่จดทะเบียนบริษัท ในประเทศไทย
- หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่างประเทศ (ทั้งต้นฉบับ และฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ)
- หนังสือรับรองบริษัทตัวแทนที่จดทะเบียนบริษัทในประเทศไทย
- รับรองการอนุญาตใช้ชื่อเครื่องหมายการค้าต่างประเทศในการจดทะเบียนโดเมนเนม ในชื่อ XXX.CO.TH
หมายเหตุ : คุณสามารถจัดส่งเอกสาร หลังจากกรอกลงทะเบียนจดโดเมนเนมและส่งแบบฟอร์มจดทะเบียนโดเมนเนม เรียบร้อยแล้วค่ะ
ไฟล์ตัวอย่างเอกสารจดโดเมน .co.th
หนังสือสำคัญ แสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า (pdf)
หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการ (pdf)
หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายรับรอง (pdf)
หนังสือรับรองโดยผู้ถือครองเครื่องหมายการค้าต่างประเทศ (pdf)
เอกสารประกอบการจดโดเมนเนม .co.th
แนะนำการจดโดเมนเนม และเอกสารประกอบการจดโดเมนเนม .ac.th
การจดโดเมน .ac.th หรือ .ศึกษา.ไทย
โดเมนเนม .ac.th สำหรับสถานศึกษา (ในประเทศไทย) ที่รับรองโดยกระทรวงศึกษาธิการ หรือหน่วยงานที่มีสถานะเทียบเท่า
เอกสารประกอบการจดทะเบียนโดเมนเนม .AC.TH มีดังนี้ค่ะ
- ประกาศจัดตั้งสถานศึกษา หรือ ใบอนุญาตให้จัดตั้งสถานศึกษา
กรณีเอกสาร จัดตั้งสถานศึกษาของรัฐสูญหาย
หรือกรณีทางโรงเรียน ไม่สามารถแสดงหนังสือจัดตั้งโรงเรียนได้ ให้ทางโรงเรียนออกเอกสารอื่น ดังนี้
สามารถใช้หนังสือที่ออกโดย ผู้อำนวยการ หรือผู้มีอำนาจลงนามของสถานศึกษา (พร้อมทั้งประทับตรา และเซนต์รับรอง โดยผู้อำนวยการโรงเรียน) เพื่อแจ้งขอจดทะเบียนชื่อโดเมน ซึ่งหนังสือต้องมีใจความสำคัญ ดังนี้
(1) ชื่อโดเมน
(2) ชื่อสถานศึกษา
(3) ชื่อหน่วยงานต้นสังกัด
(4) ที่ตั้งของสถานศึกษา
หมายเหตุ :
- คุณสามารถจัดส่งเอกสารหลังจากกรอกลงทะเบียนจดโดเมนเนมและส่งแบบฟอร์มเรียบร้อยแล้วค่ะ
- พร้อมทั้งหลักฐานการชำระค่าบริการ มาที่ support@ecomsiam.com หรือ Line id : @ecomsiam หรือ ติดต่อเรา โดยคลิกที่นี่ค่ะ
ตัวอย่างเอกสาร :
ตัวอย่างเอกสาร หนังสือรับรองการจดโดเมน .ac.th
สำเนาหนังสือจัดตั้งสถานศึกษา (pdf)
หนังสือรับรองขอจดทะเบียนชื่อโดเมน (pdf)
เอกสารประกอบการจดโดเมนเนม .ac.th
แนะนำการจดโดเมนเนม และเอกสารประกอบการจดโดเมนเนม .in.th
การจดโดเมน .in.th หรือ .ไทย
โดเมนเนม .in.th สำหรับองค์กรทุกประเภทตามกฎหมายไทย หรือบุคคลสัญชาติไทย หรือชาวต่างชาติที่มี ใบอนุญาตให้ทำงานในประเทศไทย ในส่วนบุคคลธรรมดาที่หย่อนความสามารถ เช่น ผู้เยาว์จะต้องได้รับความยินยอม จากผู้แทนที่มีอำนาจตามกฎหมาย
เอกสารประกอบการจดทะเบียนโดเมนเนม .IN.TH มีดังนี้ค่ะ
ตัวอย่างเอกสารประกอบการจดโดเมน .in.th หรือ .ไทย (ใช้เอกสารเพียง 1 อย่าง)
กรณีที่ 1. สำหรับองค์กร
- ใช้หนังสือแจ้งขอจดทะเบียนชื่อโดเมน ลงนามโดยผู้บริหารองค์กร
- ใช้เอกสารหนังสือรับรองบริษัท
- ใบภ.พ.20 (ภาษีมูลค่าเพิ่ม)
- หรือ ใบท.ค.0401 (ทะเบียนการค้า)
- หรือ หนังสือรับรององค์กร/club/group
หนังสือแจ้งขอจดทะเบียนชื่อโดเมน ลงนามโดยผู้บริหารองค์กร (pdf)
กรณีที่ 2. จดทะเบียนโดเมนเนมในนามบุคคล
ใช้เอกสารอย่างใดอย่างหนึ่ง (สำเนา)
- บัตรประชาชน
- บัตรประจำตัวข้าราชการ
- ใบอนุญาตขับรถ
- หนังสือเดินทาง
- ใบอนุญาตทำงาน (work permit)
หมายเหตุ :
- คุณสามารถจัดส่งเอกสาร หลังจากกรอกลงทะเบียนจดโดเมนเนมและส่งแบบฟอร์มเรียบร้อยแล้วค่ะ
- พร้อมทั้งหลักฐานการชำระค่าบริการ
ใบอนุญาตทำงาน (work permit) (pdf)
เอกสารประกอบการจดโดเมนเนม .in.th
แนะนำการจดโดเมนเนม และเอกสารประกอบการจดโดเมนเนม .or.th
การจดโดเมน .or.th หรือ .องค์กร.ไทย
โดเมนเนม .or.th สำหรับองค์กรพัฒนาเอกชน เช่น สมาคม มูลนิธิสภาวิชาชีพ ศาสนสถาน องค์การมหาชน องค์กรอิสระ สหกรณ์ พรรคการเมือง สถานฑูต หอการค้า ชมรม โครงการเพื่อสังคม หรือ องค์กร ระหว่างประเทศที่มีสาขา หรือตัวแทนในประเทศไทย เป็นต้น
เอกสารประกอบการจดทะเบียนโดเมนเนม .OR.TH มีดังนี้ค่ะ
ตัวอย่างเอกสารจดโดเมน .or.th หรือ .องค์กร.ไทย (ใช้เอกสารเพียง 1 อย่าง)
ใช้เอกสาร ใบอนุญาตหอการค้า ใบอนุญาตสมาคมการค้า ใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมหรือองค์กร
กรณีที่ไม่สามารถแสดงหนังสือจัดตั้งองค์กรได้
โปรดแสดงหนังสือซึ่งประกอบด้วย ประธาน, คณะกรรมการ, จุดประสงค์ที่เด่นชัด, ที่อยู่ที่แน่นอน และมีหน่วยงานที่เป็นที่รู้จักรับรองว่า มีหน่วยงานของท่านอยู่จริง
หนังสือแจ้งขอจดทะเบียนชื่อโดเมน ลงนามโดยผู้บริหารองค์กร (pdf)
หมายเหตุ :
- คุณสามารถจัดส่งเอกสาร หลังจากกรอกลงทะเบียนจดโดเมนเนมและส่งแบบฟอร์มเรียบร้อยแล้วค่ะ
- พร้อมทั้งหลักฐานการชำระค่าบริการ
ใบอนุญาตทำงาน (work permit) (pdf)
แนะนำการจดโดเมนเนม .ไทย
การจดโดเมน .ไทย
การจดโดเมน .ไทยมีวิธีการจดทะเบียนโดเมนดังนี้
กรณีที่ 1) มีโดเมนภาษาอังกฤษภายใต้ .th อยู่แล้ว
คุณสามารถจดโดเมนภาษาไทย .ไทย ได้
โดยโดเมน .ไทย ที่ท่านจะจดเพิ่มนั้น จะต้องมีชื่อโดเมนที่สอดคล้องกับ ชื่อโดเมน .th ที่ท่านถือครองอยู่
แจ้งจดโดเมน .ไทย ฟอร์มออนไลน์ได้ที่นี่ค่ะ
กรณีที่ 2) จดโดเมนใหม่ โดยจดโดเมนภาษาอังกฤษ .th พร้อมกับจดโดเมน .ไทย
คุณสามารถจดโดเมน .ไทย ได้
โดยโดเมน .ไทย ที่ท่านจะจดเพิ่มนั้น จะต้องมีชื่อโดเมนที่สอดคล้องกับ ชื่อโดเมน .th ที่ท่านจะจดทะเบียน
บริษัทเป็น "ตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ" ของ THNIC (Thnic Authorized reseller)
บริการรับจดโดเมน . TH ในไทย ในชื่อโดเมนเนม .co.th, .ac.th .in.th และ .or.th กับ "THNIC ซึ่งเป็นผู้ควบคุมการ จดโดเมนเนม .th ในประเทศไทย"
จดโดเมน .co.th/.ac.th/.in.th/.or.th ราคา 800 บ./ปี
จดโดเมน .th คลิ๊กที่นี่ค่ะ จดโดเมนเนม .ไทย
รับจดโดเมน .th + ฟรีจดโดเมน .ไทย เป็นภาษาไทย
จดโดเมน .co.th สำหรับองค์กรธุรกิจ + ฟรี จดโดเมน .ธุรกิจ.ไทย เป็นภาษาไทย
จดโดเมน .in.th สำหรับองค์กรธุรกิจ และบุคคลทั่วไป + ฟรี จดโดเมน .ไทย เป็นภาษาไทย
จดโดเมน .ac.th สำหรับสถานศึกษา + ฟรี จดโดเมน .ศึกษา.ไทย เป็นภาษาไทย
จดโดเมน .or.th สำหรับองค์กร + ฟรี จดโดเมน .องค์กร.ไทย เป็นภาษาไทย
มีอัตราค่าจดโดเมน 800 บาท/ปี และ 1,500 บาท/2 ปี ค่ะ
Whois ตรวจสอบโดเมนได้ที่นี่ค่ะ เอกสารประกอบการจดโดเมนเนม .th
เริ่มต้นจดทะเบียนโดเมนเนม
(1) เลือกชื่อโดเมนที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจของคุณ
ในการเลือกชื่อโดเมนคุณสามารถตรวจสอบโดเมนได้จาก WHOIS domain จากผู้ให้บริการจดโดเมน ซึ่งมักจะแสดงช่องในหน้าแรกของเว็บไซต์ ของผู้ให้บริการโดเมน หากโดเมนเนมนั้นว่าง คุณสามารถดำเนินการจดโดเมนได้ทันทีค่ะ
Whois ตรวจสอบโดเมนได้ที่นี่ค่ะ
จดโดเมนเนม
จดโดเมนเนม เริ่มต้นจากค้นหาโดเมนเนมของคุณค่ะ
ป้อนชื่อโดเมนที่คุณต้องการจดทะเบียน หรือโดเมนที่โอนย้ายมาอยู่กับเรา
ตรวจสอบโดเมนได้ที่นี่ค่ะ
1 ป้อนโดเมนภาษาอังกฤษ หรือภาษาไทย 2 เลือกประเภทโดเมนเนม 3 คลิกปุ่ม ค้นหาชื่อโดเมน
หลักการเลือกใช้ชื่อโดเมนเนม
หลักการเลือกใช้ชื่อโดเมนเนม มีหลักเกณฑ์ดังนี้ :
(1) คุณควรใช้คำหลัก หรือคำค้น (keyword)
ชื่อโดเมนเนมที่จดทะเบียน ควรเป็นชื่อที่จดจำได้ง่าย โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายหรือผู้เยี่ยมชม และโดเมนเนม จะต้องสะกดอย่างถูกต้อง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากชื่อโดเมนมีคำหลักหรือ Keyword ที่ต้องการให้ค้นพบใน search engine
จะดีมาก
(2) ประเภทโดเมน นามสกุล หรือส่วนขยายของโดเมน (Domain extension)
ในปัจจุบันมีการใช้ตัวเลือกส่วนขยายของโดเมน (Domain extension) หลากหลาย เช่น .com .net .org .info .biz แต่ที่นิยม น่าเชื่อถือ มีความคุ้นเคย ในกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ต และเหมาะสำหรับธุรกิจมากที่สุดคือ การจดโดเมน .com
สำหรับโดเมนเนม .net และ.org จัดได้ว่าเป็นนามสกุลที่มีความนิยมรองลงมา และโดเมนเนม .info และ .biz มีการนำมาใช้ด้วยแต่ได้รับความนิยมน้อยกว่า
ข้อมูลที่ใช้ในการจดโดเมนเนม
เมื่อคุณทราบหรือเลือกชื่อโดเมนเนมของคุณได้แล้ว ก็ถึงเวลาจดทะเบียนโดเมน โดยเลือกจดโดเมนกับผู้ให้บริการโดเมนที่มีความน่าเชื่อถือ และราคาค่าจดทะเบียนโดเมนที่เหมาะสม
ในการจดโดเมน ข้อมูลที่คุณจะต้องกรอกและนำไปใช้ในการจดทะเบียนมีดังนี้:
Registrant (เจ้าของโดเมนเนม):
ชื่อของ บริษัท หรือบุคคลที่เป็นเจ้าของโดเมน (นี้ควรจะเป็นคุณ - ไม่ควรอนุญาตให้เว็บมาสเตอร์ของคุณในการซื้อ และเป็นเจ้าของโดเมนของคุณ)
Administrative Contact (ผู้ติดต่อหรือผู้ดูแลโดเมน):
บุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการโดเมนเนม
Technical Contact (ผู้ติดต่อด้านเทคนิค):
บุคคลที่ได้รับมอบหมายในการจัดการ กับรายละเอียดทางเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับชื่อโดเมน โดยทั่วไปจะใส่ข้อมูลผู้ให้บริการจดโดเมนเนม
เนื่องจากเป็นอีเมล์ที่ใช้ยืนยันความเป็นเจ้าของโดเมน และการติดต่อใดๆ เช่น ขอรหัสผ่านใหม่,การปลดล๊อกโดเมน,แจ้งย้ายโดเมน,ขอ Auth Code รวมถึงการรับอีเมล์แจ้งต่ออายุโดเมน เป็นต้น
จะใช้บริการจดโดเมน กับผู้ให้บริการรายไหนดี
สิ่งสำคัญในการเลือก จดโดเมนเนม กับผู้ให้บริการจดโดเมนมีหลักการพิจารณาผู้ให้บริการโดเมน คือ
(1) บริษัท หรือตัวแทนการจดทะเบียนที่ผ่านการรับรองจาก ICANN-accredited registrar
ในปัจจุบัน ผู้จดโดเมนเนม มักจะมีเสนอและฟีเจอร์ต่างๆ ให้กับลูกค้า หลากหลายการใช้งาน แต่นอกเหนือจากราคาโดเมนเนมแล้ว ฟีเจอร์ เช่น การบริการหลังการขาย และการแจ้งเตือนโดเมนเนมที่หมดอายุ และการป้องกันโดเมนถูกขโมย ถูกย้ายโดเมน ก็เป็นเกณฑ์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง ในการเลือกผู้ให้บริการจดโดเมนเนม
ผู้บริการจดทะเบียนโดเมนเนม คือบริษัทที่ช่วยให้บุคคล และองค์กรธุรกิจ จดทะเบียนโดเมนเนมได้ โดยหน่วยงาน (ICANN) ได้อนุญาตให้ บริษัท หลายร้อยแห่งทำหน้าที่เป็นผู้รับจดทะเบียนชื่อโดเมน
โดยแต่ละแห่งมีรูปแบบการกำหนดราคาชุดคุณลักษณะ และโปรโตคอลความปลอดภัยที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง มาดูประเด็นสำคัญในการเลือกผู้รับจดทะเบียนกัน
(2) ความสามารถในการควบคุม จัดการโดเมนเนมแบบเต็มรูปแบบ
โดยควรจะมีหน้าจอสำหรับติดต่อกับผู้ใช้ได้สะดวก และผู้ดูแลหรือเจ้าของโดเมนเนม สามารถเข้าแก้ไข หรือจัดการข้อมูลของโดเมนเนมได้ด้วยตนเอง
ที่โดเมนเนม.ecomsiam.com ลูกค้าที่จดโดเมนเนม .com .net .biz .org .info กับเรา จะได้รับมี รหัสผู้ใช้และ รหัสผ่านเข้าจัดการโดเมนเนม
การเปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขข้อมูลโดเมนที่ท่านจดทะเบียน
หากคุณต้องการแก้ไขรายละเอียดของ"โดเมน" เช่น สถานที่ติดต่อ หรือ อีเมล์ ของผู้ดูแลโดเมน (Technical contact / Administrative contact) หรือแก้ไข DNS โดยระบบจัดการโดเมน (manage domain)
ซึ่งเป็นการแก้ไขข้อมูลโดเมนเนม โดยตรงกับ "ฐานข้อมูลของ Registrar"
โดยใชรหัสผ่านผู้ใช้งาน (user /password) ที่ โดเมนเนม.ecomsiam.com แจ้งให้กับท่านผ่านทางอีเมล์ เมื่อท่านได้จดโดเมน
โดยการแก้ไขข้อมูลโดเมนดังกล่าว จะใช้เวลาอย่างเร็วประมาณ 4 ชั่วโมง หรืออย่างช้าประมาณ 15-24 ชม. จึงจะเป็นที่รู้จักทั่วไปในอินเตอร์เน็ต
หากคุณไม่ทราบผู้ให้บริการจดโดเมนเนมหรือ registrar ที่คุณได้จดโดเมนเนม หรือต้องการทราบข้อมูลรายละเอียดของข้อมูลโดเมน เพิ่มเติม
คุณสามารถตรวจสอบหรือเช็คโดเมนได้โดย คลิ๊กที่นี่ี่ค่ะ
การป้องกันโดเมนถูกขโมย ป้องกันถูกย้ายโดเมน
การแก้ไขโดเมน ที่จดโดเมนเนมกับ Registrar
แก้ไขโดเมน ที่จดโดเมนเนมกับ WebNIC
http://www.modifydomainnames.com
แก้ไขโดเมน ที่จดโดเมนเนมกับ Onlinenic
http://www.onlinenic.modifydomainnames.com
แก้ไขโดเมน ที่จดโดเมนเนมกับ OpenSRS (tucows)
(3) ฟีเจอร์ของโดเมนเต็มครบตามความต้องการ
โดยทั่วไปฟีเจอร์ของโดเมนเนม ควรประกอบด้วยบริการดังนี้ค่ะ
Email Forwarding
email forwarding คือ การบริการ การส่งต่ออีเมล ซึ่งจะส่งข้อความอีเมลนี้ ไปยังอีก email address อื่น ที่คุณกำหนดไว้ เช่น คุณกำหนดชื่ออีเมล์ โดเมนเนมของคุณ เช่น email@mydomain.com และเมื่อมีการรับอีเมล์นี้ จะกำหนดให้อีเมล์ email@mydomain.com ส่งต่ออีเมล์ (forward email) ไปที่อีเมล์อื่น
โดยจะไม่มีกล่องจดหมายเข้า สำหรับที่อยู่อีเมลที่ใช้สำหรับส่งต่อ (ตัวอย่าง email@mydomain.com ไม่มีการจัดเก็บอีเมล์ไว้) เนื่องจาก เป็นการส่งต่ออีเมล์ ไปยังที่อยู่อีเมลอื่นที่คุณระบุไว้
Protect Your Privacy
ปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล และองค์กร ด้วยWHOIS ของโดเมนเนมของคุณ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มใด ๆ !
ช่วยปกป้องคุณให้ห่างจากสแปมเมล์, ฟิชชิ่งเและการตลาดทางโทรศัพท์
หมายเหตุ: Protect Your Privacy เป็นบริการสำหรับ โดเมนเนม .com .net .org .info .biz
ไม่รวมถึง โดเมนเนม .th
Customer Support
เจ้าหน้าที่บริการลูกค้า ยินดีให้คำปรึกษา และดูแลตอบปัญหาการใช้งาน หากคุณมีข้อสงสัย สามารถติดต่อเราโทร 02-9682665 ,02 968 3399 หรืออีเมล์ support@ecomsiam.com หรือ Line id : @ecomsiam ค่ะ
(4) การบริการลูกค้าที่มีความน่าเชื่อถือได้และมีประสิทธิภาพ
Customer service : การบริการลูกค้า
งานบริการลูกค้าสำหรับผู้ให้บริการโดเมนเนม จัดว่าเป็นส่วนที่ยากที่จะประเมินออกมาได้
โดยคุณสามารถโทรติดต่อสอบถามไปที่บริษัท หรือพิจารณาจากผู้ใช้บริการ ซึ่งถ้าเป็นลูกค้าองค์กรเป็นส่วนใหญ่ ความน่าเชื่อถือของ ผู้ให้บริการจดโดเมนเนม ตลอดจนระยะเวลา และประสบการณ์ในการเปิดให้บริการในธุรกิจโดเมนเนม
โดยพิจารณา ในด้านการตอบปัญหาทางอีเมล์ การสื่อสารกับลูกค้า ช่องทางต่างๆ เช่น Live Chat เป็นต้น
หากคุณมีข้อสงสัย สามารติดต่อกับเจ้าหน้าที่บริการลูกค้า หรือ customer support ของ ecomsiam web hosting ได้ที่ Tel.02-9682665,02-9683399 หรือ support@ecomsiam.com ค่ะ หรือ Line id : @ecomsiam ค่ะ
คลิ๊กที่นี่เพื่อติดต่อเราค่ะ จดโดเมนเนม หรือตรวจสอบโดเมนได้ที่นี่ค่ะ
Tags
Social Media
จะเริ่มต้นมีเว็บไซต์ได้อย่างไร?
ควรเลือกเว็บโฮสติ้ง /web hosting กับที่ไหนดี
WEB HOSTING SOLUTIONS
1. จดทะเบียนโดเมนเนม
ในการเริ่มต้นเว็บไซต์ หรือการใช้งานอีเมล์นั้น คุณจะต้อง "จดทะเบียนโดเมนเนม" ก่อนค่ะ ตัวอย่างเช่น www.domainname.com เมื่อคุณได้ชื่อ "โดเมนเนม" แล้ว จึงจะเลือกใช้ web hosting
เพื่อจัดเก็บเว็บไซต์ และการใช้งานอีเมล์ในชื่อโดเมนเนมของคุณ
ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้ง (web hosting service provider) จำนวนมากมาย ที่ให้บริการจดโดเมนฟรี พร้อมกับการใช้งานweb hosting
2. เลือก Hosting โดยพิจารณาถึงรูปแบบเว็บไซต์ที่คุณต้องการ
โดยทั่วไป เว็บไซต์จะมีรูปแบบของการจัดเว็บไซต์ 2 รูปแบบคือ
2.1 เว็บไซต์สแตติค
Static web site หรือ Simple web site
เว็บไซต์สแตติค เป็นเว็บไซต์ที่มีรูปแบบไม่ยุ่งยาก และไม่ซับซ้อน โดยคุณสามารถสร้างเว็บไซต์ในรูปแบบไฟล์ html หรือ java,CSS โดยอัปโหลด/upload file ไปไว้ที่เว็บโฮสติ้ง /web hosting (web server) โดยใช้โปรแกรม FTP (file transfer) เช่น FileZilla หรือ Winscp หรือโปรแกรมอัพโหลดไฟล์อื่นๆ

2.2 ไดนามิคเว็บไซต์ (Dynamic sites)
เช่น เว็บไซต์สำเร็จรูป,wordpress, cms (content management software) ,blogs, forums, shopping cart,photo galleries...) เป็นต้น
ระบบเว็บไซต์ในลักษณะนี้ คุณสามารถติดตั้งโปรแกรม หรือ web application ไว้ที่ เว็บโฮสติ้ง/web hosting หรือ web server ได้ โดยมีการจัดเก็บข้อมูลแบบฐานข้อมูล หรือ Database เพื่อเรียกใช้ ในการแสดงผล เช่น MySQL เป็นต้น
โดยโปรแกรมจะมีเครื่องมือ ที่ช่วยให้คุณสามารถ เพิ่มเติม, แก้ไข เนื้อหาของเว็บไซต์ได้ ตลอดจนการใส่รูปภาพและข้อความ รวมถึง ไฟล์วิดีโอต่างๆ แบบ online โดยมีการเชื่อมต่อกับ web hosting ที่คุณใช้งาน
นอกจากนี้ คุณอาจเขียนโปรแกรมหรือ application เพื่อใช้งานระบบหรือเว็บไซต์ของคุณได้ด้วย
Open source Software
คุณอาจติดตั้งใช้โปรแกรม Open source Software ต่างๆ เช่น WordPress, phpBB,zencart,oscommerce,woocommerceSMF (simple machines forum),Magento,OpenCart เป็นต้น
ในการติดตั้งโปรแกรมสำเร็จรูปเหล่านี้ คุณไม่ต้องกังวลใจ เลยค่ะ
ecomsiam web hosting บริการติดตั้ง Opensource software ให้กับผู้ใช้ หรือผู้ใช้อาจติดตั้งโปรแกรมได้เอง จาก Control panel
และหากมีปัญหาในการติดตั้ง สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือจาก บริการด้านเทคนิคของ ecomsiam web hosting ได้เลยค่ะ
2.3 เว็บไซต์สำเร็จรูป
นอกจากการติดตั้งโปรแกรมเพื่อใช้งาน หากคุณไม่มีความรู้ทางด้านเทคนิค หรือการเขียนโค้ดของโปรแกรม เราขอแนะนำ เว็บไซต์สำเร็จรูป ninenic.com ที่จะช่วยให้คุณสร้างเว็บไซต์ได้เสร็จอย่างรวดเร็ว สวยงามแบบมืออาชีพ และเริ่มต้นได้ทันที
แนะนำ Web Hosting Technology
- สำหรับเว็บไซต์แบบ html หรือ static เว็บ จะใช้กับ web hosting ใดๆ ก็ได้
- เมื่อคุณจัดทำเว็บไซต์ที่เป็นไดนามิค (Dynamic website) โดยทั่วไปจะมี plateform 2 แบบคือ
(1) Linux web hosting :
Linux web hosting :
ใช้ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ ปรกอบด้วยโปแกรมที่ใช้งานภาษา PHP ในการสร้างโปรแกรมประยุกต์ หรือสร้าง web applications โดยใช้เทคโนโลยี Linux Apache, MySQL Database และ PHP

สำหรับ ecomsiam.com ใช้ เว็บโฮสติ้ง/Web Hosting ในรูปแบบนี้ค่ะ
Linux web hosting มีข้อได้เปรียบ สำหรับการนำเว็บแอพลิเดชั่นยอดนิยม และ Opensource software มาใช้งาน
เช่น Wordpress, Joomla, Drupal และ phpBB อีกทั้งยังสามารถติดตั้งโปรแกรม Shopping cart เช่น zencart, Oscommerce, opencart ,magento , Woocommerce และอื่นๆ อีกมากมาย
นอกจากนี้ Linux web hosting ยังมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าเว็บโฮสติ้ง แบบ windows
(2) Windows Web Hosting

Windows Web Hosting
ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดว์ หรือ windows os ประกอบด้วยโปแกรมที่ใช้งาน fontpage ,ASP ในการสร้างโปแกรมประยุกต์ หรือสร้าง web applications. โดยใช้ IIS web server และฐานข้อมูล SQL server databases.
ใช้ เว็บโฮสติ้ง /Web Hosting ที่ไหนดี?
การเลือกใช้เว็บโฮสติ้ง /Web Hosting แบบใดนั้น จะขึ้นอยู่กับความต้องการขององค์กรเป็นหลักค่ะ
โดยทั่วไป เว็บโฮสติ้ง/ web hosting อาจจำแนกออกได้เป็น 4 รูปแบบหลักๆ คือ
(1) Free web hosting ($0):
ฟรี web hosting มีรูปแบบการให้ใช้ web hosting โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
Free web hosting มักจะไม่มีการรับประกันการใช้งาน หรือการสำรองข้อมูล (Backup) เมื่อมีผู้ใช้งานจำนวนมาก อาจก่อให้เกิดปัญหา เซิฟท์เวอร์ทำงานหนัก หรือ overloaded หรือช้า หรืออาจมีโฆษณา
เว็บโฮสติ้งแบบฟรี จึงเหมาะสำหรับการใช้งานเว็บไซต์ส่วนตัว หรือเว็บไซต์เล็กๆ ที่ไม่ต้องการในเชิงธุรกิจ เนื่องจากไม่คำนึงถึงความเสถียรภาพของ เว็บโฮสติ้ง/Web hosting มากนัก
(2) Shared web hosting :
เว็บโฮสติ้ง/Web hosting แบบใช้งานร่วมกัน หรือ Shared Web hosting
โดยส่วนใหญ่แล้ว เว็บโฮสติ้ง ที่ให้บริการ จะเป็นลักษณะแบบนี้ค่ะ โดยจะมีเซิฟท์เวอร์ (server) ขนาดใหญ่ ที่มีลูกค้าเว็บไซต์จำนวนหนึ่งอยู่ใน Web hosting เดียวกัน
ลูกค้าแต่ละรายจะมีบัญชีและรหัสผ่าน หรือ Web hosting account ของตนเอง และบริหารจัดการ Web hosting ในส่วนของ account ตนเองผ่านระบบ web hosting control panel (Cpanel WHM)
(3) VPS (Virtual Private Servers) :
เซิฟท์เวอร์ส่วนตัวเสมือนจริง หรือ VPS server
เป็นเซิฟท์เวอร์ (server) ที่แยก เว็บโฮสติ้ง/Web hosting ออกมาจำนวนหนึ่ง (จำนวนไม่มาก ประมาณ 8-16-32 ราย) เซิฟท์เวอร์ส่วนตัวเสมือนจริง หรือ VPS server เป็นเทคโนโลยที่ทันสมัย ที่มีฟีเจอร์การทำงานที่มากขึ้น และความยืดหยุ่น ในการควบคุมเว็บไซต์ของคุณ ใช้สำหรับพัฒนาแอพลิเคชันการทำงาน ที่่ซับซ้อน หรือที่ต้องการให้เว็บไซต์ของคุณมีประสิทธิภาพ โดยผู้ดูแลหรือ admin จะได้สิทธิ์ root VPS server จึงเหมาะสำหรับ ผู้ที่ต้องการพื้นที่มากๆ , data transfer มากๆ การจัดการในด้าน security ที่สูงมาก ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ VPS server Dedicated Servers เป็นบริการให้เช่าเซิฟท์เวอร์ส่วนตัว โดยผู้ให้บริการ Server คุณสามารถจัดการเซิฟท์เวอร์ (server) ได้ทั้งหมด เหมือนคุณเป็นเจ้าของเซิฟท์เวอร์ แต่ Dedicated Servers มีราคาค่อนข้างสูง
โดยทั่วไปนิยมใช้บริการ shared web hosting ซึ่งทำให้ต้นทุนไม่สูง และมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการดูแลด้านเทคนิค โดยเจ้าหน้าที่ ทำให้คุณไม่ต้องกังวล ในการดูแลด้านเทคนิค โดยทั่วไปผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้ง web hosting ต่างๆ ในบางรายอาจเสนอ ให้พื้นที่ (diskspace) หรือแบนด์วิช (bandwidth) จำนวนมากอย่างไม่น่าเชื่อ อย่าเพิ่งรีบตัดสินใจนะคะ ลองพิจารณา องค์ประกอบที่ควรมีสำหรับการเลือกเว็บโฮสติ้ง / web hosting ดังนี้ค่ะ
(4) Dedicated Servers :
เลือกผู้ให้บริการ เว็บโฮสติ้ง /Web Hosting อย่างไร?
มักจะมีการถามอยู่บ่อยๆ ว่า เราจะเลือกใช้บริการเว็บโฮสติ้ง/web hosting กับที่ไหนดี?
web hosting performance :
web hosting พิจารณาได้จาก ความเร็วในการแสดงผลของเว็บไซต์ที่ผู้เยี่ยมชมจะได้รับ ซึ่งขึ้นอยู่กับเซิฟท์เวอร์ที่ใช้ ระบบเครือข่าย และปริมาณของเว็บไซต์ที่ใช้งานใน เว็บโฮสติ้ง/web hosting หรือ Load ของ server นั่นเอง
โดยเราสามารถตรวจสอบกับเว็บไซต์ที่ใช้เว็บโฮสติ้ง/web hosting นั้นอยู่
Web hosting Uptime :
การใช้งานอย่างต่อเนื่อง 99% หรือไม่มีการล่มบ่อยๆ
Web hosing Uptime คืออะไร
web hosting uptime คือระยะเวลาที่เซิร์ฟเวอร์มีอยู่และมีการทำงาน โดยมักจะแสดงเป็นเปอร์เซ็นต์ เช่น "uptime 99 %"
web hosting Uptime เป็นตัวชี้วัด คุณภาพของผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้ง ในการดูแลและรักษาระบบของเว็บโฮสติ้ง /web hosting ให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง
web hosting Uptime จึงมีความสำคัญต่อการพิจารณาผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้ง/web hosting เป็นอย่างมาก
web hosting ที่มีความปลอดภัยในการใช้งาน :
ในการเลือกผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้ง/web hosting ควรเลือกผู้ให้บริการ web hosting ที่มีระบบป้องกันไวรัสจากอีเมล์ (Anti virus for email) และมีระบบกรองอีเมล์ขยะ หรือสแปมเมล์ (web hosting with Spam mail filter) เพื่อความปลอดภัยและประสิทธฺิภาพ การใช้งานข้อมูลสูงสุดของคุณ
Network Architecture และการสำรองข้อมูล
ข้อควรพิจารณาในการเลือกผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้ง/web hosting รายใด ควรเลือกผู้ให้บริการ web hosting ที่มีระบบสำรองข้อมูลรายวัน และรายสัปดาห์ (Daily Backup, Weekly Backup),UPS and Diesel Powered Backup ตลอดจนการดูแลระบบเครือข่าย (24/7 Network Monitoring)
เลือก ecomsiam web hosting
พร้อมระบบ ป้องกันไวรัสจากอีเมล์ (Anti virus for email) และระบบกรองสแปมเมล์ และระบบสำรองข้อมูล Backup รายวันและรายสัปดาห์
Customer service : การบริการลูกค้า
งานบริการลูกค้าสำหรับเว็บโฮสติ้ง/web hosting จัดว่าเป็นส่วนที่ยากที่สุดที่จะประเมินออกมาได้
โดยคุณสามารถโทรติดต่อสอบถามไปที่บริษัท หรือพิจารณาจากผู้ใช้บริการ ซึ่งถ้าเป็นลูกค้าองค์กรเป็นส่วนใหญ่ ความน่าเชื่อถือของ ผู้ให้บริการ hosting ตลอดจนระยะเวลา และประสบการณ์ในการเปิดให้บริการในธุรกิจเว็บโฮสติ้ง/web hosting
อีกทั้งการตอบปัญหาทางอีเมล์ การสื่อสารกับลูกค้า ช่องทางต่างๆ เช่น Live Chat เป็นต้น
หากคุณมีข้อสงสัย สามารติดต่อกับเจ้าหน้าที่บริการลูกค้า หรือ customer support ของ ecomsiam web hosting ได้ที่ Tel.02-9682665,02-9683399 หรือ support@ecomsiam.com ค่ะ หรือ Line id : @ecomsiam ค่ะ
การเลือก : เว็บโฮสติ้ง/web hosting plan
web hosting planใดเหมาะกับคุณ?
ปัจจุบันผู้ให้บริการเว็บโฮสต์ติ้ง/web hosting ต่างๆ มีบริการที่หลากหลาย เริ่มตั้งแต่ ผู้เริ่มต้น (Starter) ไปจนถึงระดับองค์กรขนาดใหญ่ (Enterprise) ซึ่งมีรายละเอียดแตกต่างกัน เช่น จำนวนพื้นที่, จำนวนอีเมล์, จำนวน Data transfer
"หลักในการเลือก Web Hosting plan และสิ่งที่ควรพิจารณาคือ ฟีเจอร์ของเว็บโฮสต์ติ้ง/web hosting ,สิ่งที่คุณจำเป็นต้องใช้ ราคาและความคุ้มค่า"
ระบบปฏิบัติการ และโปรแกรมประยุุกต์
โปรแกรมที่รองรับการเขียนเว็บเพจ หรือ script ที่จำเป็นตามการใช้งานของคุณ ซึ่งมีให้คุณเลือกใช้ระหว่าง ระบบปฏิบัติการ windows web hosting หรือ Linux web hosting
จำนวนรายชื่ออีเมล์/ Email account
ซึ่งคุณควรพิจารณาเลือกใช้ ตามจำนวนรายชื่ออีเมล์ที่ใช้งาน
ตัวอย่างเช่น info@yourweb.com, sales@yourweb.com หรือ webmaster@yourweb.com เป็นต้น
พื้นที่จัดเก็บหรือ Disk space
พื้นที่จัดเก็บเว็บไซต์ หรือพื้นที่สำหรับเก็บอีเมล์ หากต้องการจัดเก็บอีเมล์ไว้บน server หรือเว็บไซต์ขนาดใหญ่ที่มีการเก็บข้อมูลจำนวนมาก
ควรเลือก web hosing plan ที่มีพื้นที่มากขึ้น
ปริมาณ Data transfer
ปริมาณ Data transfer คือปริมาณข้อมูล ที่ถูกส่งออกมาจาก ชื่อเว็บไซต์ (โดเมนเนมของคุณ) และการรับเข้า เช่น การเปิดเว็บไซต์ของคุณ และ การใช้งานรับส่ง อีเมล์ โดยทั่วไปเว็บไซต์ส่วนใหญ่จะใช้ data transfer ไม่เกิน 30-50 GB ต่อเดือน
ฟีเจอร์ และระบบจัดการเว็บโฮสติ้ง
พิจารณาจาก WHM หรือ web hosting manager software ซึ่งในที่นี้ขอแนะนำ Cpanel web hosting (Cpanel WHM)
ซึ่งมีฟีเจอร์มากมาย ช่วยให้คุณสามารถจัดการ web hosting ของโดเมนเนม ของท่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Cpanel web hosting มีการใช้งานผ่านทางหน้าเว็บ
เช่น การ upload ไฟล์ สำหรับเว็บไซต์, การจัดการอีเมล์, การสำรองข้อมูล (Backup), การ FTP,สถิติของเว็บไซต์ (web site statistics) และอื่นๆ อีกมากมาย
การบริการหลังการขาย
การบริการหลังการขาย หรือ Customer support ของผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้ง/web hosting
เช่น การตอบปัญหา หรือการช่วยเหลือแก่ผู้ใช้บริการ การแจ้งเตือน เมื่อโดเมนเนมใกล้หมดอายุ เป็นต้น
ความปลอดภัยในการใช้งาน
เลือกweb hosting ที่มีความปลอดภัยในการใช้งาน
เช่น ระบบป้องกันไวรัสจากอีเมล์ ระบบกรองสแปมเมล์ หรือกรองอีเมล์ขยะ ตลอดจนการสำรองข้อมูล / Backup รายวัน หรือ รายสัปดาห์ และการจัดเก็บ Log file 90 วันตามกฏหมาย
มีใบรับรอง SSL
เลือก Web hosting ที่มีความปลอดภัย ที่พร้อมใบรับรอง SSL certificate สำหรับเว็บไซต์และอีเมล์
SSL / TLS (Secure Sockets Layer / Transport Layer Security) คือการเข้ารหัสข้อมูลระหว่างเบราว์เซอร์ของผู้เยี่ยมชมและเซิร์ฟเวอร์ โปรโตคอลเหล่านี้ ป้องกันการดักใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และยังช่วยป้องกันข้อมูลที่เป็นความลับ เช่น หมายเลขบัตรเครดิตและข้อมูลการเข้าสู่ระบบ
โปรโตคอลทั้งสองนี้ จะเข้าใจกันระหว่างที่เซิร์ฟเวอร์ของคุณ และคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยเงื่อนไขเหล่านี้รวมถึง ชุดกุญแจสาธารณะ และกุญแจส่วนตัว คอมพิวเตอร์ทั้งสองเครื่องใช้คีย์เหล่านี้ ในการเข้ารหัส และถอดรหัสข้อความที่ส่งถึงกัน ระหว่างการสื่อสาร